เมนู

ฉะนั้น สิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่มีราคาถึงบาท ซึ่งเจ้าของทำให้มีราคา
หย่อนไป เพราะการใช้สอย โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ พระวินัยธร ไม่
ควรปรับภิกษุผู้ลักภัณฑะนั้นถึงปาราชิก. พึงสอดส่องถึงการใช้สอยอย่างนี้.
พระวินัยธรผู้ฉลาด พึงสอบสวนฐานะ 5 เหล่านี้ อย่างนี้แล้วพึง
ทรงไว้ซึ่งอรรถคดี คือ พึงตั้งไว้ซึ่งอาบัติ ครุกาบัติหรือลหุกาบัติ ในสถาน
ที่ควรแล.
วินิจฉัยบทเหล่านี้ คือ ตู่ ลัก ฉ้อ ให้อิริยาบถกำเริบ ให้เคลื่อน
จากฐาน ให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย จบแล้ว.


[

อรรถาธิบายทรัพย์ที่ควรแก่ทุติยปาราชิก

]
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกบทมีว่า ยถารูเป อทินฺ-
นาทาเน
เป็นต้น จึงตรัสคำว่า ยถารูปนฺนาม เป็นต้นนี้. จะวินิจฉัย
ในคำว่า ยถารูปํ เป็นต้นนั้น :- ทรัพย์มีตามกำเนิด ชื่อว่า ทรัพย์เห็น
ปานใด. ก็ทรัพย์มีตามกำเนิดนั้น ย่อมมีตั้งแต่บาทหนึ่งขึ้นไป; เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บาทหนึ่งก็ดี ควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินกว่าบาท
หนึ่งก็ดี. ในศัพท์ว่า ปาทเป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเฉพาะ
อกัปปิยภัณฑ์ เท่าส่วนที่ 4 แห่งกหาปณะ ด้วยปาทศัพท์ ทรงแสดงกัปปิย-
ภัณฑ์ ได้ราคาบาทหนึ่ง ด้วยปาทารหศัพท์ ทรงแสดงกัปปิยภัณฑ์และอกัป-
ปิยภัณฑ์แม้ทั้งสองอย่าง ด้วยอติเรกปาทศัพท์. วัตถุพอแก่ทุติยปาราชิกเป็น
อันทรงแสดงแล้ว โดยอาการทั้งปวง ด้วยศัพท์เพียงเท่านี้. พระราชาแห่ง
ปฐพีทั้งสิ้น คือ เป็นจักรพรรดิในทวีป เช่นพระเจ้าอโศก ชื่อพระราชาทั่ว
ทั้งแผ่นดิน, ก็หรือว่า ผู้ใดแม้อื่น ซึ่งเป็นพระราชาในทวีปอันหนึ่ง เช่น
พระราชาสิงหล ผู้นั้น ก็ชื่อพระราชาทั่วทั้งแผ่นดิน.